ย่านาง เป็นสมุนไพรไทยชนิดหนึ่ง ที่คนไทยใช้เป็นส่วนประกอบในอาหาร รวมทั้งเป็นยารักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งแหล่งกำเนิดของต้นย่านางนั้นจะขึ้นอยู่ตามแถบป่าของประเทศไทย
โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นย่านางมีลักษณะเป็นไม้เลื้อย
ส่วนใบย่านางมีสีเขียวเข้มออกเงามัน และเป็นส่วนที่ได้รับความนิยมบริโภคมากที่สุด
ในปัจจุบันมีผู้คนนิยมนำใบย่านางมาทำเป็นเครื่องดื่มจำนวนมาก ทั้งเพื่อจำหน่ายและดื่มเพื่อสุขภาพ เนื่องจากใบย่านางมีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ประกอบด้วยสารอาหารและแร่ธาตุ
อย่างเช่น สารกลุ่มโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) แคลเซียม (Calcium) ธาตุเหล็ก
(Iron) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น นอกจากนี้ ยังพบว่ามีสารเคมีที่มีสรรพคุณเป็นยา
หรือเป็นวิตามินบำรุงร่างกายอีกหลายตัว เช่น สารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) แทนนิน (Tannin) ลิกแนน (Lignan) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) โพลีฟีนอล (Polyphenol) รวมทั้งยังมีสารเบต้าแคโรทีน
(Beta carotene) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย
![]() |
ต้นย่านาง |
ก่อนอื่นเลยเราจะต้องดูปริมาณความเข้มข้นให้เหมาะสมกับลักษณะผู้ดื่ม
ดังนี้ค่ะ
เด็ก >> ใช้ใบย่านาง
1 - 5 ใบ ต่อน้ำ 1 - 3 แก้ว ( 200 - 600
ซีซี )
ผู้ใหญ่ที่รูปร่าง ผอม บางเล็ก และร่างกายไม่แข็งแรง เจ็บป่วยง่าย >> ใช้ใบย่านาง 5 - 7 ใบ ต่อน้ำ 1 - 3
แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่าง ผอม บางเล็ก และร่างกายแข็งแรง >> ใช้ใบย่านาง 7 - 10 ใบ ต่อน้ำ 1 - 3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่าง ผอม บางเล็ก และร่างกายแข็งแรง >> ใช้ใบย่านาง 7 - 10 ใบ ต่อน้ำ 1 - 3 แก้ว
ผู้ใหญ่ที่รูปร่างสมส่วน >> ใช้ใบย่านาง 10 - 20 ใบ ต่อน้ำ 1 - 3 แก้ว
วัตถุดิบและอุปกรณ์ ใบย่านาง, ครกหรือเครื่องปั่นไฟฟ้า, น้ำเปล่า,
กระชอนหรือผ้าขาวบาง
ขั้นตอนการทำ
1. นำใบย่านางมาล้างทำความสะอาด
2. จากนั้น นำไปตำหรือปั่นในเครื่องปั่นให้ละเอียด
แล้วเติมน้ำลงไป
3. ใช้กระชอนหรือผ้าขาวบางกรองเนื้อออก
และเอาเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำเพื่อดื่ม
เทคนิคพิเศษ
หากใช้วิธีการปั่นด้วยเครื่อง ความร้อนจากเครื่องปั่นอาจจะทำลายความเย็นของใบย่านาง ทำให้คุณค่าของสารอาหารที่เราควรจะได้ลดลง การปั่นใบย่านางให้คงคุณค่าสารอาหาร คือ ไม่ควรกดปั่นครั้งเดียวจนใบย่านางแหลกละเอียด
แต่ควรกดปั่นแล้วนับ 1 - 5 อย่างรวดเร็วแล้วกดหยุด จากนั้น กดปั่นแบบเดิมไปเรื่อยๆ
จนใบย่านางละเอียด ซึ่งเทคนิคการปั่นนี้ทำให้โมเลกุลของสารอาหารยังคงรูปร่างเดิม
วิธีดื่ม ควรดื่มครั้งละ
1/2 - 1 แก้ว วันละ 2 - 3 เวลาก่อนอาหาร
หรือตอนท้องว่าง และหากแช่ในตู้เย็น
ควรดื่มให้หมดภายใน 3 - 7 วัน โดยก่อนดื่มคุณจะต้องสังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยวหรือเปล่า ถ้าเริ่มมีกลิ่นก็แสดงว่ามันอาจจะเสียจึงไม่ควรดื่มค่ะ
ควรดื่มให้หมดภายใน 3 - 7 วัน โดยก่อนดื่มคุณจะต้องสังเกตดูว่ามีกลิ่นเปรี้ยวหรือเปล่า ถ้าเริ่มมีกลิ่นก็แสดงว่ามันอาจจะเสียจึงไม่ควรดื่มค่ะ
สำหรับผู้อ่านท่านใดที่คิดอยากจะทำน้ำใบย่านางดื่มเอง
แต่กลัวว่าจะขม มีกลิ่นฉุน และดื่มยาก ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะคุณสามารถผสมน้ำที่มีกลิ่นหอมอย่างน้ำใบเตย
หรือน้ำหวานเฮลซ์บลูบอยลงไปก่อนดื่มได้ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้เครื่องดื่มที่ทั้งหอมหวาน
รสชาติถูกปาก และมีประโยชน์ต่อสุขภาพได้ในคราวเดียวกันแล้วล่ะค่ะ
ข้อมูลอ้างอิงจาก http://www.summacheeva.org/index_article_triliacora.htm
ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.noichiangmai.com/bai-ya-nang.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น